งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑๔ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” (the 4th National and the 14th International Conference on Arts and Culture: Soft Power- Arts and Culture in Creative Economy)

เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับเกียรติจาก เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑๔ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” (the 4th National and the 14th International Conference on Arts and Culture: Soft Power- Arts and Culture in Creative Economy) โดยได้รับเกียรติจาก เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษใน หัวข้อ“บทบาทของ อว. กับการขับเคลื่อน Soft Power เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นจำนวน ๒ วันระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ มีรูปแบบกิจกรรมคือ การลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันจำนวน ๑๕ หน่วยงาน การจัดเวทีเสวนา เสวนา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาในการส่งเสริม Soft Power สู่เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ วิทยากรโดย ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ที่ได้ให้เกียรติมาร่วมเสวนา การนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้ง ๒ รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ ๑ คือ แบบปากเปล่า (Oral Presentation) และ รูปแบบที่ ๒ คือ แบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ในวันเสาร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นของดีบ้านฉัน เพื่อแสดงวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น การ สาธิตภูมิปัญญาของท้องถิ่น การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม และร้านค้า OTOP จาก กรมการพัฒนาชุมชนโดยเน้นแนวคิดด้วยการนำเสนอ Soft Power ของไทย ด้วยแนวคิด 5F และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม ในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เพื่อถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ หรือ ๗๒ ชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑ เพื่อเป็นเวทีระดับชาติและนานาชาติในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ บทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมของนักวิชาการทุกกลุ่ม ๒ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ผลการวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของชาติ และภูมิปัญญาของท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ๓ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์โดยมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ๔ เพื่อส่งเสริมงานในมิติการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และ Soft Power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ สู่งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเครือข่ายที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงและร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งนี้ มีจำนวน ๑๕ หน่วยงานประกอบด้วย ๑. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ๒. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ๓. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ๔. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ๕. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ๖. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ๗. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ๘. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ๙. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ๑๐.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑๑. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ๑๒. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ๑๓. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ๑๔. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ ๑๕. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิตหรือนักศึกษาในเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จำนวน ๔๕๐ คน


ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม Click !!