
เครื่องมือสนับสนุนการทำงานและจัดการเรียนการสอนออนไลน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
1. การประชุมทางไกล (Video Conferencing)

2. การเรียนการสอนออนไลน์

3. งานเอกสาร

4. จัดเก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนไฟล์เอกสาร

5. นัดหมายกิจกรรม/ประชุม

6. สื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล

7. บริการความช่วยเหลือ/แจ้งปัญหาไอที

แนวทางการใช้งานซอฟต์แวร์สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์
อาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้งานซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยผลิตภัณฑ์จาก Google และ Microsoft ผ่านบัญชีผู้ใช้งานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้ฟรี
- ผลิตภัณฑ์ Google ได้แก่ PNRU e-Mail, Google Classroom, Google Doc, Google Calendar, Google Drive และ Google Hangouts Meet เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์ Microsoft ได้แก่ ชุดโปรแกรม Office365 เช่น Word, PowerPoint, Excel, Outlook, SharePoint, Teams, Sway, OneDrive และ Forms เป็นต้น
วิธีการตรวจสอบบัญชีการเข้าใช้งาน
- เข้าสู่เว็บไซต์ระบบบริการการศึกษา https://reg.pnru.ac.th และทำล็อกอินเข้าสู่ระบบ
(หากไม่ทราบ Username และ Password ระบบบริการการศึกษาให้ติดต่องานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Inbox สอบถามผ่าน Facebook “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร”)

- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนูตั้งค่าควบคุม
- ตรวจสอบชื่อบัญชีได้ที่ “การใช้งานอีเมล” และ “การใช้งาน Microsoft Office 365”
- บัญชีผู้ใช้งาน
แนวทางจัดการเรียนการสอนออนไลน์
อาจารย์ผู้สอนสร้างกลุ่มผู้เรียน เพื่อสื่อสารกับนักศึกษา กระจายข้อมูลข่าวสาร เอกสารประกอบการเรียน รวมถึงการทำ Live สดสอน โดยสามารถเลือกใช้ Application ได้ดังนี้
- LINE Group
ข้อดี ง่าย อาจารย์และนักศึกษาคุ้นเคย เหมาะกับการใช้สื่อสารกับนักศึกษา
ข้อเสีย ไม่สามารถสร้างเป็นห้องเรียนออนไลน์ (e-Classroom) ได้
- Facebook Group
ข้อดี 1) ง่าย อาจารย์และนักศึกษาคุ้นเคย เหมาะกับการใช้สื่อสารกับนักศึกษา
2) อาจารย์สามารถทำการ Live สอนสดในกลุ่มได้ และบักทึกไฟล์ให้นักศึกษาเข้าดูย้อนหลังได้
ข้อเสีย 1) ไม่สามารถสร้างเป็นห้องเรียนออนไลน์ (e-Classroom) ได้
2) การ Feed ข่าวสารบน Facebook ขึ้นกับความสนใจของผู้ใช้งาน นักศึกษาบางคนอาจไม่เห็นข่าวที่ประกาศ ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องแจ้งให้นักศึกษาเข้าดูตรวจสอบเมื่อมีข่าวประกาศ
- Microsoft Teams
ข้อดี 1) สร้างและใช้งานห้องเรียนออนไลน์ (e-Classroom) เช่น การแจกจ่ายเอกสารประกอบการสอน การสนทนา การสร้างกระดานถามตอบ การมอบหมายงานหรือสั่งการบ้าน การตรวจงาน การสร้างแบบทดสอบ และการให้คะแนน เป็นต้น
2) สามารถ Live สดสอน หรือทำ Video conference ได้
3) บันทึกไฟล์วิดีโอการสอน เพื่อให้นักศึกษาเข้าดูย้อนหลังได้
ข้อเสีย อาจารย์และนักศึกษาอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน
- Google Classroom
ข้อดี สร้างและใช้งานห้องเรียนออนไลน์ (e-Classroom) เช่น การแจกจ่ายเอกสารประกอบการสอน การสนทนา การสร้างกระดานถามตอบ การมอบหมายงานหรือสั่งการบ้าน การตรวจงาน การสร้างแบบทดสอบ และการให้คะแนน เป็นต้น
ข้อเสีย ไม่สามารถ Live สดสอน หรือทำ Video conference ได้
ข้อแนะนำ
1) ควรมีช่องทางการสื่อสารที่นักศึกษาคุ้นเคยกับการใช้งาน เช่น LINE Group และ Facebook Group
2) ในกรณีที่อาจารย์ผู้สอนมีสื่อการสอน เช่น ไฟล์วิดีโอประกอบบทเรียนอยู่แล้ว สามารถเลือกใช้โปรแกรม Google Classroom เพื่อสร้างแผนการเรียนในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ (e-classroom) ได้
3) หากอาจารย์ผู้สอนต้องการทำ Live สอนสด หรือทำ Video conference ร่วมกับนักศึกษา สามารถเลือกใช้โปรแกรม Microsoft Teams เพื่อสร้างเป็นห้องเรียนออนไลน์ (e-classroom) ได้
เครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนออนไลน์
1. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
- ในกรณีอาจารย์ผู้สอนทำการสอนแบบ Live สด จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop PC) หรือ โน๊ตบุค (Notebook/Laptop) ที่มีกล้อง Webcam และไมโครโฟนในตัว (ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีกล้อง Webcam และไมโครโฟน สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้)
- สมาร์ทโฟน (Smartphone)
2. อินเทอร์เน็ต (Internet) ความเร็วปานกลางตั้งแต่ 50 Mbps ขึ้นไป
3. ซอฟต์แวร์
- ช่องทางการสื่อสาร เช่น Facebook และ LINE เป็นต้น
- จัดเก็บและแลกเปลี่ยนไฟล์เอกสารประกอบการสอน เช่น Google Drive, OneDrive และ Dropbox เป็นต้น
- จัดการเอกสารออนไลน์ผ่านชุดโปรแกรม Office365 (Word/Excel/PowerPoint/…)
- จัดการห้องเรียนออนไลน์ (e-Classroom) / สอนแบบ Live สด
(1) PNRU Moocs
- คู่มือการใช้งานระบบสำหรับผู้สอน
- คู่มือการใช้งานระบบสำหรับผู้เรียน
(2) Microsoft Teams
คุณสมบัติของ Microsoft Teams
- สร้าง team เป็น e-classroom
- สร้าง team เป็นแผนก
- สร้าง team เป็นกลุ่ม project
- สร้าง channel เป็นกลุ่มย่อยในทีม
- ให้คนใน team สามารถ chat สื่อสารกันได้
- แลกเปลี่ยน files ใน team กันได้
- สั่ง assignment และตรวจให้คะแนนได้
- สั่ง quiz ที่ตรวจให้คะแนนอัตโนมัติได้
- ทำ video conference ได้ถึง 250 คน
- อาจารย์สามารถ mute เสียงทุกคนได้
- ถ่ายทอดสดหน้าจอ หรือเลือกเฉพาะแอพ เช่น ถ่ายทอดเฉพาะ Power Point เป็นต้น
- อนุญาตให้บันทึกการ conference แล้วเก็บไว้ใน Microsoft OneDrive ที่สามารถจำกัดสิทธิได้
- สามารถทำ live event ถ่ายทอดสดทางเดียวที่รองรับได้ถึง 10,000 คน
- ใช้ได้ทั้งผ่าน Web และติดตั้ง Application
- ถ้าติดตั้ง Application สามารถถ่าย conference แบบหน้าชัดหลังเบลอได้
- ใช้ MS Planner, MS Office, MS OneNote, และ MS Whiteboard ร่วมกันใน team ได้
เข้าใช้งานได้ที่ : https://www.office.com/
คู่มือการใช้งาน :
(1) คู่มือการใช้งานทั่วไป: https://bit.ly/3d6WFdf
(2) คู่มือการใช้งานฉบับภาษาไทย:
- https://bit.ly/33tvUvm
- https://bit.ly/3bdOYQC
วิดีโอสาธิตการใช้งาน :
(1) https://www.youtube.com/watch?v=wh-tTK5k5X4
(2) https://www.youtube.com/watch?v=Bn9h8ZP33hE
(3) https://www.youtube.com/watch?v=dLzstqolxa4
ขั้นตอนการใช้งาน Office365 สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร:
https://bit.ly/2wkYmDw
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Teams:
https://bit.ly/2WvYMBG
(3) Google Classroom
คุณสมบัติของ Google Classroom
- สร้างเป็น e-classroom ใช้งานง่าย แต่ไม่สามารถทำการถ่ายทอดสดหรือ video conference ได้
- สั่ง assignment และตรวจให้คะแนนได้
- สั่ง quiz ที่ตรวจให้คะแนนอัตโนมัติได้
เข้าใช้งานได้ที่ : https://classroom.google.com
คู่มือการใช้งาน Google Classroom
(4) Google Hangouts Meet

คุณสมบัติของ Google Hangouts Meet
- สำหรับทำ video conference ได้ แต่ไม่สามารถสร้างเป็น e-Classroom
- ทำ video conference ได้ถึง 250 คน
- ใช้งานง่าย ด้วยการสร้าง meeting แล้วส่ง link ให้นักศึกษา
- อาจารย์ไม่สามารถ mute เสียงทุกคนได้ (ต้องทำทีละคน หรือประกาศให้นักศึกษาทุกคน mute เสียงตนเอง)
- ถ่ายทอดสดหน้าจอ หรือเลือกเฉพาะแอพ เช่น ถ่ายทอดเฉพาะ Power Point เป็นต้น
เข้าใช้งานได้ที่ : http://meet.google.com/
คู่มือการใช้งาน : https://bit.ly/2TYcb3t
วิดีโอสาธิตการใช้งาน : https://www.youtube.com/watch?v=TDzU6KcX-9s